ต้นไม้ฟอกอากาศทั้ง 11 ปลูกง่ายได้สุขภาพ

หมวดหมู่: IDEAS & DIY

                 ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว (2561) ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองในอากาศขนาดเล็ก PM 2.5 ยังวนเวียนอยู่รอบๆตัวเรา รวมถึงสารพิษจากไอเสียรถยนต์ และกิจกรรมประจำวันอื่นๆ ทำให้เราต้องเจอกับสารระเหยที่เป็นอันตรายมากมาย เช่น เบนซิน โทลูอิน สารฟอร์มาลดีไฮด์ ตลอดจนเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่างๆ โดยเฉพาะคนเมืองที่ต้องอยู่ในอาคารที่มีเครื่องปรับอากาศวันละเฉลี่ย 20 ชั่วโมง อากาศภายในจึงเป็นภัยเงียบโดยไม่รู้ตัว องค์การนาซ่า( NASA )ได้ทำการทดลองจากต้นไม้หลายสายพันธุ์เพื่อหาต้นไม้ที่มีคุณสมบัติในการฟอกอากาศ ลดการกระตุ้นการเกิดภูมิแพ้ จนได้ผลสรุปออกมาเป็นต้นไม้ 10 สายพันธุ์ วันนี้แอดมินจึงมาเสนอต้นไม้ฟอกอากาศเพื่อปอด และสุขภาพที่ดีให้ทุกท่านได้ทราบกันค่ะ

PM 2.5 คืออะไร

  • PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบอย่างง่ายว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ขนจมูกของมนุษย์ไม่สามารถกรองได้
  • PM2.5 จึงสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็ง ตามคำเตือนขององค์การอนามัยโลก

ภาพจาก : https://www.google.com

1.เศรษฐีเรือนนอก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Chlorophytum bichetii (Karrer) Backer
วงศ์: Asparagaceae
ประเภท:ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
ความสูง: 20 – 30 เซนติเมตร
ลำต้น: เป็นพุ่มมีเหง้าสั้นๆ และมีรากสะสมอาหารเป็นตุ้มสีขาว
ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 0.8 – 1.6 เซนติเมตร ยาว 10 – 20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน มีแถบด่างสีขาวครีมบริเวณขอบใบ
ดอก: ออกเป็นช่อกระจะ ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว
ผล: ไม่ติดผล
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินร่วนปนทราย
แสงแดด: ครึ่งวันเช้าถึงรำไร
น้ำ: ปานกลาง
ขยายพันธุ์: แยกกอและปักชำไหล
การใช้งานและอื่นๆ: สามารถดูดไอพิษจากอากาศได้เป็นลำดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นฟอร์มาดิไฮด์ แอมโดมเนียน ไซลีน ทูลีน รวมทั้งไอเสียอื่นๆ

 

ภาพจาก : http://cocolapinedesign.com

2.พลูด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Epipremnum aureum (Lindl. & Andre’) G.S.Bunting
วงศ์: 
Araceae
ประเภท: 
ไม้เลื้อยอายุหลายปี
ลำต้น:
ทอดเลื้อยไปตามพื้นหรือเกาะพันกับต้นไม้ใหญ่หรือหลักเสาอื่น ๆ เมื่อแก่มีเนื้อไม้ กิ่งก้านสีเขียวอ่อนอมเหลือง มักมีขีดตามยาวสีเหลืองหรือสีขาว
ใบ: 
ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ เมื่อยังเล็กรูปหัวใจถึงรูปไข่ ยาว 15 – 30 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ใบมีขนาดใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบทั้งสองด้านหยักลึกแบบขนนกคล้ายใบฉีกก้านใบสั้น
อัตราการเจริญเติบโต: 
เร็ว
ดิน: 
ดินร่วนที่มีอินทรียวัตถุสมบูรณ์
แสงแดด: 
แสงแดดครึ่งวันเช้าถึงรำไร
น้ำ: 
ปานกลางถึงมาก
การขยายพันธุ์: 
ปักชำกิ่ง
โรคและแมลงศัตรูพืช: 
มักไม่พบ
การใช้งานและอื่นๆ: ช่วยลดฝุ่นในอากาศได้ถึง 94% และเชื้อราในอากาศได้ 78% นอกจากนี้หากนำพลูด่างมาปลูกไว้ในห้องนอน ก็จะช่วยฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ นอนหลับได้อย่างสบาย ไร้อาการภูมิแพ้หรือหอบหืดรบกวน

 

ภาพจาก :  https://www.gqthailand.com

3.เดหลี

ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathiphyllum spp.
วงศ์Araceae
ประเภทไม้ล้มลุกอายุหลายปี
ความสูง: 40 – 50 เซนติเมตร
ลำต้น: เหง้าใต้ดิน เจริญเป็นกอ ทุกส่วนมีน้ำยางใส
ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 10 – 15 เซนติเมตร ยาว 25 – 30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวเข้มเป็นมันและมีร่องตามแนวเส้นใบชัดเจน ก้านใบยาว
ดอก: เป็นช่อเชิงลด ออกที่ปลายกิ่ง มีจานรองดอกสีขาวรูปไข่ โค้งงอเล็กน้อย กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร ยาว 18 – 21 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมด้านหลังอาจมีสีเขียวปนบ้าง ปลีดอกยาว 5 – 6 เซนติเมตร ดอกย่อยเล็ก กลีบดอก 6 กลีบโคนกลีบเชื่อมติดกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโตเร็ว
ดินดินร่วนมีอินทรียวัตถุสมบูรณ์
แสงแดด: ครึ่งวันเช้าถึงรำไร
น้ำ: ปานกลาง ชอบความชื้นในอากาศสูง
ขยายพันธุ์: แยกกอ
การใช้งานและอื่นๆ: ช่วยกรองสารพิษอย่าง เบนซิน ไตรคลอโรเอทิลีน และฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังผลิตความชื้นในอากาศให้เพิ่มขึ้น 5% เพื่อกำจัดเชื้อโรคในอากาศที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ พร้อมบรรเทาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจทำให้นอนหลับสบาย

 ภาพจาก : https://www.reddit.com

4.เขียวหมื่นปี

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aglaonema spp. and hybrid
วงศ์: Araceae
ประเภท: ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
ความสูง: 20 – 50 เซนติเมตร
ลำต้น: ลำต้นกลมเห็นข้อปล้องชัดเจน รากออกตามข้อ ทุกส่วนอวบน้ำ เมื่ออายุมากขึ้นมักทิ้งใบล่าง
ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปใบมีหลายแบบ ทั้งรูปรี รูปไข่ รูปรีแกมรูปขอบขนาน และรูปแถบ ปัจจุบันมีทั้งชนิดแท้และลูกผสมที่ปรับปรุงพันธุ์ให้มีลวดลายและสีสันแปลกตาขึ้น ทั้งสีส้ม แดง ชมพู เหลือง
ดอก: ออกเป็นช่อเชิงลดมีกาบที่ซอกใบใกล้ปลายยอด
ผล: สดมีเนื้อ ทรงรี เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม ขาว หรือเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ ภายในมี 1 เมล็ด
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี
แสงแดด: รำไร ชอบความชื้นสูง
ขยายพันธุ์: แยกหน่อ ปักชำ เพาะเมล็ด และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การใช้งานและอื่นๆ : ช่วยฟอกอากาศ และเพิ่มปริมาณอ๊อกซิเจนในเวลากลางคืน

 

 ภาพจาก : https://www.wideopeneats.com

5.ว่านหางจระเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aloe vera (L.) Burm.f.
วงศ์: Xanthorrhoeceae
ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี
ทรงพุ่ม: แผ่เป็นรัศมี
ลำต้น: มีข้อและลำปล้องสั้น
ใบ: เดี่ยวรูปหอกเรียว ออกเวียนรอบต้น ปลายใบแหลม ขอบมีหนามเล็กๆ ผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวเข้ม สีจุดประเล็ก ๆ สีขาว ใบหนาอวบน้ำเป็นวุ้นใส ๆ ภายใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง
ดอก: ออกเป็นช่อเชิงลดออกจากซอกใบกลางต้น ดอกเป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน
อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง
ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี
น้ำ: ปานกลาง
แสงแดด: เต็มวัน
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด
การใช้งานและอื่นๆ : ดูดซับสารพิษ จำพวกฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นสาเหตุของการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา ปวดศีรษะ ไปจนถึงโรคหอบหืดได้อีกด้วย

 

ภาพจาก : https://www.jollyfarmer.com

6.เยอร์บีร่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gerbera jamesonii Bol. ex Adlam and hybrids
วงศ์ : Asteraceae
ประเภท : ไม้ดอกอายุหลายปี
ความสูง  30-60 เซนติเมตร
ลำต้น : มีลำต้นใต้ดิน
ใบ : ออกเป็นกอรูปขอบขนาน ขอบใบหยักเว้าแบบขนนกโค้งขึ้นเล็กน้อย ใต้ใบและก้านใบมีขนละเอียดนุ่มมือ ใบสีเขียวเข้ม
ดอก : ออกเป็นช่อกระจุกเดี่ยว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-9 เซนติเมตร กลีบดอกวงนอกรูปขอบขนาน กลีบดอกมีสีขาว ม่วง ชมพู เหลือง ส้ม และแดง กลีบดอกวงในรูปหลอดสีน้ำตาลหรือดำก้านดอกยาวมีขนสั้น มีหลายสายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์ไทย สายพันธุ์ ยุโรป สายพันธุ์อเมริกา และสายพันธุ์ออสเตรเลีย
ดิน : ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี
แสงแดด : เต็มวัน
น้ำ/ความชื้น : ปานกลาง
ขยายพันธุ์ : แยกกอ เพาะเมล็ด วางภาชนะเพาะในที่ที่มีแสงรำไร เมล็ดจะงอกใน 7-10 วัน ใช้เวลาเพาะจนออกดอก 120 วัน
การใช้งานและอื่นๆ : ดูดสารพิษชนิดไตรคลอไรเอทีรีนและการคายความชื้นก็สูง

 

 

7.เบญจมาศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendranthemum grandifflora
วงศ์ : Asteraceae
ประเภท : ไม้ดอก
ความสูง  ไม่เกิน 60 ซม.
ลำต้น : ตั้งตรง
ใบ : สีเขียวเข้ม ขอบใบหยักเว้าไม่เท่ากัน
ดอก : มีหลายสี
ดิน : ร่วนอากาศและน้ำถ่ายเทได้ดี
แสงแดด : รำไร
น้ำ/ความชื้น : ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบน้ำขัง
ขยายพันธุ์ : ปักชำ
การใช้งานและอื่นๆ:ประสิทธิภาพในการดูดสารพิษสูงมาก จำพวกสารพิษ ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย

 

 ภาพจาก : https://www.google.com

8.ไอวี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hedera helix L.
วงศ์ : Araliaceae
ประเภท : ไม้เลื้อยเนื้ออ่อนขนาดเล็ก
ลำต้น  : ทอดเลื้อยได้ไกล 2 – 4 เมตร
ใบ : ใบรูปไข่กว้าง เว้าเป็น 3 – 5 พู กว้าง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 7 – 8 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน แผ่นใบหนาสีเขียว ปัจจุบันมีพันธุ์ใบด่างสีขาวหรือสีครีมซึ่งเป็นที่นิยม และพันธุ์สีเขียวด่างขาว ก้านใบยาว
ดอก : ออกเป็นช่อซี่ร่มตามซอกใบ ดอกย่อยสีขาว  ออกดอกเดือนธันวาคมถึงมีนาคม แต่มักไม่ค่อยออกดอกให้เห็น
ผล: ไม่ติดผล
ดิน : ดินร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง
แสงแดด : เต็มวันและครึ่งวัน
ขยายพันธุ์ : ปักชำกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ : สามารถช่วยกำจัดฝุ่นราที่ลอยอยู่ในอากาศได้มากถึง 78 เปอร์เซนต์ในระยะเวลาเพียง 12 ชั่วโมง

 

ภาพจาก : http://www.costafarms.com

9.ลิ้นมังกร 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sansevieria trifasciata hort. ex Prain cv. Futura Golden Compacta
วงศ์: Asparagaceae
ประเภท: ไม้อวบน้ำ
ลำต้น: เป็นพุ่ม สูง 30 – 50 เซนติเมตร ใบแบน ออกเวียนสลับ กว้าง 4 – 6 เซนติเมตร ยาว 30 – 50 เซนติเมตร ปลายใบแหลม แผ่นใบบิด ขอบใบมีแถบด่างสีเหลือง กลางใบเป็นลายสีเขียว
ดอก: ช่อดอกเป็นช่อเชิงลด ชูสูง 30 – 50 เซนติเมตร ดอกสีขาว
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินร่วนหรือดินปนทราย ระบายน้ำดี
น้ำ: น้อย-ปานกลาง
แสงแดด : รำไรถึงครึ่งวัน
ขยายพันธุ์: แยกกอหรือปักชำใบ
การใช้งานและอื่นๆ : มีความสามารถโดดเด่นในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยออกซิเจนออกมาในช่วงเวลากลางคืน

 

ภาพจาก : https://www.google.com

10.จั๋ง

Bamboo Palm/Lady Palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhapis excelsa (Thunb.) Henry
ประเภท: ปาล์มแตกกอ
ความสูง: สูงได้ถึง 3 เมตร ความสูงที่สวยงามอยู่ในช่วง 0.50 – 1.50 เมตร
ลำต้น: เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 – 2.5 เซนติเมตร ตามลำต้นมีเส้นใยหยาบ ๆ สีน้ำตาลเข้มคลุมอยู่บาง ๆ
ใบ: รูปพัด ขอบใบจักลึกถึงสะดือ แตกเป็นใบย่อย 4 – 10 ใบ แผ่ครึ่งวงกลม ใบย่อยแข็งไม่อ่อนลู่ ปลายใบทู่
ช่อดอก: แยกเพศอยู่ต่างต้น ออกระหว่างกาบใบ
ผล: กลม ขนาด 0.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง
ดิน: ดินอุดมสมบูรณ์
แสงแดด:ตลอดวันถึงรำไร
ขยายพันธุ์: แยกหน่อ เพราะไม่ค่อยติดเมล็ด หากเพาะเมล็ดต้องใช้เวลา 2 – 3 เดือนจึงงอก
การใช้งานและอื่นๆ: สามารถกำจัดสารที่เป็นพิษต่อร่างกายได้ทั้งฟอร์มาลดีไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีนและโทลูอีน

 

 ภาพจาก : https://www.baers.com

 

11.หมาก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dypsis lutescens (H.Wendl.) H.Beentje & J.Dransf.
ชื่อพ้อง Chrysalidocarpus lutescens H.Wendl.
ประเภท: ปาล์มแตกกอ
ความสูง: สูงได้ถึง 8 เมตร ความสูงที่สวยงามอยู่ในช่วง 1 – 3 เมตร
ลำต้น: เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 4 – 8 เซนติเมตร ลำต้นและคอใบมีสีเหลืองส้มจนถึงเขียว
ใบ: รูปขนนก ทางใบยาว 2 เมตร ใบย่อยรูปแถบแคบเรียวแหลม
ช่อดอก: ช่อดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกใต้คอ ช่อแผ่กระจาย ยาว 50 – 70 เซนติเมตร
ผล: รูปรี ขนาด 1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม
ดิน: ดินร่วนอุดมสมบูรณ์
แสงแดด: รำไรและกลางแจ้ง
น้ำ: ปานกลาง
ขยายพันธุ์: แยกหน่อหรือเพาะเมล็ด ใช้เวลา 2 เดือนจึงงอก
การใช้งานและอื่นๆ ช่วยลดมลพิษในการกาศ และปล่อยความชื้นในอากาศทำให้ผู้เป็นไข้หวัด หรือไซนัสเรื้อรังมีสุขภาพที่ดี

 

เครดิตพันธุ์ไม้ : https://www.baanlaesuan.com

12 มิถุนายน 2562

ผู้ชม 145768 ครั้ง